โรงพยาบาลกุมภวาปี | kumpawapi Hospital : บทความ ระบบงานห้องเวชระเบียน 

ระบบงานห้องเวชระเบียน

1. การบันทึกข้อมูลประวัติผู้ป่วย

1.1   สามารถบันทึกข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย ได้แก่  HN., ชื่อ, นามสกุล, คำนำหน้านามหรือยศ ตำแหน่ง, วัน/เดือน/ปีเกิด, อายุ (คำนวณจากวัน/เดือน/ปีเกิด), หมู่เลือด (Blood Group), สถานภาพสมรส, เชื้อชาติ, สัญชาติ, อาชีพ, ศาสนา, เพศ, รูปพรรณสัณฐานและข้อมูลภาพ/รูปถ่าย หรือ Identity Field เป็นต้น

 

 

1.2 รูปแบบของ วัน/เดือน/ปีเกิด จัดเก็บตามมาตรฐานสากลที่สามารถคำนวณอายุได้ง่าย โดยมีรูปแบบการ Input เป็น dd/mm/yyyy โดย yyyy เป็น พ.ศ. แต่ถ้า Input เป็น ค.ศ. จะต้องแปลงเป็น พ.ศ.

 

1.3 มีระบบการป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล (Input) สู่ระบบ ได้แก่ พบความไม่สัมพันธ์กันของข้อมูล เช่น เพศชาย มีคำนำหน้าเป็นนาง (ตามทะเบียนราษฎร์)  / เด็กหญิง / เด็กชาย อายุเกิน 15 ปี / อายุเกิน 120 ปี ให้มี warning เพื่อยืนยันอีกครั้ง

 

 

1.4 กรณีไม่ทราบวัน/เดือน/ปีเกิด แต่ทราบอายุโปรแกรมสามารถคำนวณ ปีเกิด (เป็น ปี พ.ศ.) จากอายุแล้วใส่ วัน/เดือน เป็น 00/00 (จะได้รูปแบบวัน/เดือน/ปีเกิด เป็น 00/00/xxxx) หรือในกรณีที่ทราบแต่ปี พ.ศ. ที่เกิด ให้สามารถบันทึกเป็น 00/00/xxxx ได้

 

 

1.5  สามารถตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชนให้ถูกต้องตามกระทรวงมหาดไทย

 

 

1.6  มีระบบเตือนเมื่อลงข้อมูลของผู้ป่วยไม่ครบ ระบบจะมีหน้าต่าง Alert แจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ เช่น

 

 

1.7 สามารถลงข้อมูล ที่อยู่ปัจจุบัน (บ้านเลขที่, หมู่, ตรอก/ซอย, ถนน, ตำบล, อำเภอ, จังหวัด, รหัสไปรษณีย์, ประเทศ, หมายเลขโทรศัพท์บ้าน, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ)  ได้

 

 

1.8 กรณีผู้ป่วยเป็นข้าราชการ สามารถเก็บข้อมูลในส่วนสังกัดหลัก, สังกัดรอง, เลขที่ข้าราชการ และเลขที่กรมบัญชีกลางได้

 

 

1.9  สามารถลงข้อมูล ชื่อ - นามสกุลบิดา, ชื่อ - นามสกุลมารดา, ชื่อ – นามสกุล คู่สมรส, ชื่อผู้ติดต่อได้พร้อมที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์, ความสัมพันธ์ของผู้ติดต่อได้กับผู้ป่วย

 

 

1.10 สามารถตรวจสอบข้อมูลชื่อ – สกุล / เลขที่บัตรประชาชน หลักโดยเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ได้พร้อมดึงข้อมูล เช่น (ชื่อ – สกุล / ที่อยู่ / ชื่อบิดา – มารดา / รูปถ่าย) ลงในทะเบียนประวัติได้

 

 

1.11 สามารถบันทึกข้อมูลสิทธิการรักษาต่างๆ ตามบัตรรับรองสิทธิของผู้ป่วยได้ ตามเลขที่บัตรประชาชน

 

1.12 หลังจากบันทึกชื่อ–นามสกุลและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ระบบสามารถตรวจสอบทันทีว่าชื่อ–นามสกุลผู้ป่วยอยู่ในระบบเวชระเบียนหรือไม่ ถ้ามีระบบจะแสดงชื่อ–นามสกุล, วัน/เดือน/ปีเกิด, ชื่อบิดา, ชื่อมารดาและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าเป็นคนเดียวกัน

 

 

1.13 สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใหม่และเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ เช่น คำนำหน้านาม, ที่อยู่ ฯลฯ

 

 

1.14 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อ – นามสกุล ระบบสามารถบันทึกชื่อสกุลเดิมและชื่อสกุลใหม่ที่ทำการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลผู้ป่วยได้จากชื่อใหม่และสามารถแก้ไขที่อยู่ หรือ ข้อมูลอื่นๆให้ผู้ป่วยได้ตามความเป็นจริง โดยให้บันทึกรหัส, ชื่อ, นามสกุล, ผู้แก้ไข, วัน, เวลา ทุกครั้ง

 

 

 

1.15 กรณีที่ผู้ป่วยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลใหม่ ระบบจะเก็บชื่อและนามสกุลเดิมของผู้ป่วย และเก็บเลขที่เอกสารอ้างอิงกับทางราชการ พร้อมหลักฐาน รหัสเจ้าหน้าที่ที่แก้ไข วันที่และเวลาที่แก้ไข

 

 

1.16 สามารถทำการยุบรวมแฟ้มประวัติได้ กรณีมีแฟ้มประวัติผู้ป่วยมากกว่า 1 HN

 

1.17  สามารถรองรับการรวมแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (merge HN) และสามารถสอบถามประวัติการรวมแฟ้มได้ กรณีที่ผู้ป่วยที่ HN ซ้ำกัน ผู้ป่วยที่เป็นคนเดียวกัน สามารถตรวจสอบ หรือ ดูข้อมูลแฟ้มเวชระเบียนต่อกันได้ หรือ สามารถรวมแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (merge HN) ได้

 

 

1.18  สามารถตรวจสอบการลงทะเบียนผู้ป่วยซ้ำได้  โดยระบบจะตรวจสอบจากเลขที่บัตรประชาชน

 

 

 

1.19  สามารถตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วยโดยเชื่อมโยงฐานข้อมูล รพ. / สปสช. ได้ 

 

 

1.20  ระบบรองรับการลงทะเบียนอุบัติเหตุหมู่

 

 

1.21  สามารถปกปิดความลับผู้ป่วยได้  และมีสิทธิเข้าถึงว่าใครสามารถเข้าดูข้อมูลปกปิดได้บ้าง

 

 

1.22  กรณีที่มีการสั่งพิมพ์ใบแทนแฟ้มเวชระเบียน สามารถระบุสาเหตุของการพิมพ์ใบแทนได้

 

 

1.23  สามารถบันทึกข้อมูลการเสียชีวิต วันที่เสียชีวิต สาเหตุการเสียชีวิต สถานที่เสียชีวิต แพทย์ผู้ออกใบรับรองการเสียชีวิตได้

 

 

1.24  สามารถบันทึกสรุปการวินิจฉัยโรคและการให้หัตถการได้ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยบันทึกได้มากกว่า 1 รายการ สามารถเลือกได้จากรายชื่อโรค หรือจากรหัส ICD ทั้งด้านการวินิจฉัยและหัตถการ

 

2. การบันทึกส่งตรวจผู้ป่วย

2.1  สามารถค้นหาข้อมูลผู้ป่วย ได้จาก HN, จากชื่อ – นามสกุล, จาก เลขที่บัตรประชาชน และจากที่อยู่

 

 

2.2  สามารถเก็บบันทึกข้อมูลสิทธิการรักษาต่าง ๆ ของผู้ป่วย เพื่อยืนยันสิทธิการรักษาของผู้ป่วยแต่ละครั้งที่มารักษา

 

 

2.3  สามารถเลือกสิทธิการรักษาของผู้ป่วยได้มากกว่า 1 สิทธิ ในการบันทึกส่งตรวจ

 

ที่มา : http://hosxp.net

ผู้เขียน : นายอิศรา ทิพวัฒนา
ตำแหน่ง : นักวิชาการคอมพิวเตอร์
วันที่เขียน : 19 สิงหาคม 2560 เวลา : 15:08:48 น.
ผู้ชม 2714 ครั้ง