เพราะทุกวินาทีคือชีวิต.????

ราจึงจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพให้กับเจ้าหน้าที่เราเป็นประจำทุกปี

เจ้าหน้าที่ 100% ต้องเข้ารับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ดยใน จนท.ทั่วไปเน้นการทำ Basic Life Support ให้เป็น.

ส่วนในแพทย์พยาบาลต้องทำ Advance Cardiac Life Support ให้ได้..

ปีนี้เจ้าหน้าที่เรากว่า 600 คน..จึงต้องแบ่งเรียนเป็น 4 รุ่น..

วันนี้รุ่นแรก..นพ.เกรียงศักดิ์ เอกพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ได้กล่าวเปิดงานเพื่อให้เห็นความสำคัญของการปั๊มหัวใจ ถ้าปั๊มได้ถูกต้องโอกาสรอดชีวิตก็จะสูงมาก เพราะเราไม่รู้ว่าจะพบคนหัวใจหยุดเต้นที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้

ขอบคุณวิยากรพญ.พรรณิการ์ โมราราช วิสัญญีแพทย์ พญ.ขนิษฐา นาครินท์ วิสัญญีแพทย์, นพ.วิทยาธร พรศิริประธาน กุมารแพทย์ และพญ.กฤติยา ด่านคอนสกุล สูตินรีแพทย์ ซึ่งเป็นวิทยากรหลักของเรา..นอกจากนี้ยังมีพี่ๆ พยาบาลห้อง ER นำทีมโดยคุณนิลปัทม์ พลเยี่ยม หน.งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน, ทีมพยาบาลห้องผ่าตัด และ หน.ตึกต่างๆ มาช่วยเป็น staff ประจำฐานฝึก BLS และ ACLS.

แผนการต่อไปเราจะลงไปสอนในชุมชน..ให้ประชาชนสามารถทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้นได้

................................

การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR : Cardiopulmonary resuscitation ) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ

1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ

2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ

3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว

▶️▶️▶️▶️▶️▶️▶️▶️▶️

ขั้นตอนการทำ ซีพีอาร์ (CPR) หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

พีอาร์ ใครๆ ก็ฝึกได้ รู้ไว้เพื่อช่วยชีวิตคนใกล้ตัวคุณ

หากสมองคนเราขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเกินกว่า 4 นาที จะทำให้สูญเสียเซลล์สมองบางส่วนไปได้อย่างถาวร การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ “CPR” เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะยื้อชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้เป็นอย่างดี

โดยอาการนี้อาจจะพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจมาก่อน หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจแบบเฉียบพลัน หรือผู้ที่ขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ๆ

1. เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ

2. ปลุกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดังและตบไหล่ทั้งสองข้าง

3. โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669

4. ประเมินผู้ป่วยว่าหายใจหรือรู้สึกตัวหรือไม่

5. ช่วยฟื้นคืนชีพ กดหน้าอกลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที

?6. หากมีเครื่องเออีดี (Automated External Defibrillator)ให้เปิดเครื่อง ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก

7. ติดแผ่นเออีดีหรือแผ่นน้ำไฟฟ้า

8. กดปุ่มช็อกและทำการกดหน้าอกหลังทำการช็อกทันที แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อกให้ทำการกดหน้าอกต่อไป

9. กดหน้าอกต่อเนื่อง ทำ CPR และปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

10. ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล

ผู้เขียน : นางสาวสุดารัตน์ มณีสุข
ตำแหน่ง : นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
วันที่เขียน : 09 กรกฏาคม 2562 เวลา : 11:07:48 น.
ผู้ชม 361 ครั้ง